calendar

วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านภาคเหนือ

| | 0 ความคิดเห็น

คนไทยในอาณาจักรล้านนามีชีวิตและความเป็นอยู่โดยการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา หุบเขา มีพื้นที่ราบจำนวนน้อย คือ ประมาณ1/4 ของพื้นที่ทั้งหมด ชาวบ้านทำนาแบบนาทดน้ำ พื้นที่สูงปลูกข้าวไร่ พื้นที่ที่ราบในแอ่งเขาอุดมสมบูรณ์ ปลูกข้าว และพืชอื่น ๆ ได้ดี คือ พื้นที่ราบแอ่งเชียงใหม่ ลำพูน และแอ่งเชียงราย ส่วนลำปาง แพร่ น่าน ผลิตข้าวได้น้อย ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบผลิตเพื่อให้พออยู่พอกิน การติดต่อค้าขายระหว่างกันก็จะเป็นประเภทวัวต่าง สินค้ามีของป่า เกลือ ผ้า อัญมณี เป็นต้น ส่วนการค้าขายในหมู่บ้านก็จะมี “กาดมั่ว” ใครมีของอะไรก็นำมาวางขายได้
คนไทยภาคเหนือนิยมปลูกบ้านอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นหมู่บ้าน หากพื้นที่ใดอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำนา มีแม่น้ำไหลผ่าน ก็จะมีหมู่บ้านตั้งเป็นระยะ ๆ เรื่อยไปตามแม่น้ำ ลักษณะบ้านจะเป็นบ้านไม้ยกสูง มีใต้ถุนโล่ง เป็นที่เก็บของเครื่องมือทำเกษตร และเป็นที่ทำงานหรือพักผ่อนยามว่างได้ด้วย บ้านของชาวเหนือนิยมมุงกระเบื้องหรือชาวบ้านเรียกว่าดินขอ หรือบางครั้งก็มุงด้วยแผ่นไม้สักซึ่งทำเป็นแผ่นเล็ก ๆ แต่โตกว่าแผ่นกระเบื้อง แผ่นไม้สักนี้จะทนแดดทนฝน ถ้าคัดเลือกไม้อย่างดีจะอยู่ได้เกิน 50 ปีขึ้นไปเลยทีเดียว
ถัดจากบ้านก็จะเป็นยุ้งข้าวขนาดใหญ่เล็กตามฐานะ นอกจากนั้นก็จะมีสัตว์เลี้ยง เช่น ไก่ เป็ด วัว ควาย ม้า ถัดบ้านก็เป็นสวนผลไม้ซึ่งรวมถึงพืชผักที่ใช้ประกอบอาหารด้วย
ชาวล้านนามีลักษณะเหมือนคนไทยทั่วไป แต่เป็นเชื้อสายไทยยวน หรือโยนก คนล้านนาเองเรียกคนกลุ่มเดียวกันว่า “คนเมือง” ลักษณะเด่นกว่าคนไทยกลุ่มอื่นคือ ผิวค่อนข้างขาว รูปร่างสันทัดไม่สูง ไม่เตี้ยเกินไป ส่วนใหญ่รูปร่างผอมบาง มีภาษาที่เป็นภาษาถิ่นของตัวเอง หรือที่เข้าใจกันว่า “คำเมือง” ภาษาไทยเหนือมีระบบตัวอักษรบันทึกที่เรียกว่า “อักษรล้านนา” บันทึกเรื่องราวทางพุทธศาสนา คัมภีร์ต่าง ๆ ตลอดจนกฎหมายและความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน อักษรล้านนานี้ดัดแปลงมาจากอักษรมอญเดิม มีอายุรุ่นเดียวกับอักษรพ่อขุนรามคำแหง หรืออาจเก่ากว่านั้นอีก

ศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ

| | 0 ความคิดเห็น

ด้านประวัติศาสตร์

เดิมคนไทยแยกกันอยู่เป็นกลุ่ม ๆ กระจัดกระจายอยู่ในแหลมอินโดจีน ชาวไทยที่อยู่ทางภาคเหนือจะตั้งบ้านเรือนอยู่พื้นที่ราบระหว่างเขา เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คนไทยที่อยู่ทางเหนือมีการสร้างบ้านแปงเมือง มีกษัตริย์ปกครองสืบมา ที่ปรากฏชัดเจนคือ อาณาจักรน่านเจ้าอยู่บริเวณแคว้นยูนนานของจีน อาณาจักรนี้ถูกจีนตีแตกเมื่อ พ.ศ. 1796 (กองวัฒนธรรม 2539:41) หลังจากนั้นอาณาจักรเชียงแสนซึ่งเริ่มตั้งเมืองมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 16 ก็เริ่มขยายเป็นอาณาจักรขึ้นแทน ครั้นถึงพุทธศตวรรษที่ 18 คนไทยกลุ่มใหญ่ที่สุดก็รวมตัวกันตั้งบ้านเมืองแยกเป็น 3 อาณาจักรชัดเจน คือ อาณาจักรเชียงแสนอยู่ทางภาคเหนือ อาณาจักรสุโขทัยอยู่ภาคกลางและภาคใต้ อาณาจักรล้านช้างคือดินแดนฝั่งตะวันออกแม่น้ำโขง ปัจจุบันคือประเทศลาวและภาคอีสานของไทย


อาณาจักรล้านนามีวิวัฒนาการแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
สมัยสร้างอาณาจักร (พ.ศ.1839-1898) เริ่มจากพญามังรายสร้างเมือง รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ในแอ่งเชียงรายและขยายอำนาจลงสู่แอ่งเชียงใหม่ ลำพูน โดยรวบรวมเมืองสำคัญไว้ ได้แก่ เชียงราย เชียงแสน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา และมีการส่งราชบุตรไปครองเมืองเชียงตุง เมืองนาย เป็นต้น มีกษัตริย์ปกครองต่อกัน 5 พระองค์ จนถึงสมัยพญาผายู
สมัยอาณาจักรล้านนารุ่งเรือง (พ.ศ.1898-2068) เริ่มตั้งแต่สมัยพญากือนาจนถึงสมัยพญาแก้ว เป็นระยะเวลา 170 ปี ความเจริญสูงสุด คือ สมัยของพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ.1984-2030) สมัยนี้ได้รับยกย่องว่าเป็นยุคทองแห่งล้านนาไทย ได้ขยายอาณาเขตถึงเมืองแพร่ เมืองน่าน แผ่อิทธิผลถึงรัฐฉาน และเมืองหลวงพระบางด้วย ด้านพุธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง มีการสังฆายนาพระไตรปิฏก ครั้งที่ 8 ของโลก
สมัยอาณาจักรล้านนาเสื่อมและสลาย (พ.ศ.2068-2101) เริ่มตั้งแต่สมัยพญาเกศเชษฐราชจนตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าเป็นเวลา 33 ปี ครั้น พ.ศ. 2101 สมัยท้าวแม่กุ บุเรนองก็ยึดเชียงใหม่ จากนั้นล้านนาก็ตกอยู่ใต้อำนายพม่าถึง 200 ปีเศษ จนถึง พ.ศ.2317 สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เชียงใหม่จึงเป็นเมืองประเทศราชของไทย ต่อมาหัวเมืองทางภาคเหนือก็เป็นจังหวัดต่าง ๆของราชอาณาจักรไทย และมีความเจริญก้าวหน้าตามลำดับจนถึงปัจจุบัน

อาณาจักรล้านนาแบ่งการปกครองออกได้ ดังนี้
1บริเวณเมืองราชธานี ได้แก่เมืองเชียงใหม่ ลำพูน อำนาจสิทธิขาดเป็นของพระมหา
กษัตริย์ เป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจ
2เมืองที่ปกครองโดยข้าหลวง หรือเจ้านายเชื้อพระวงศ์ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับเมือง
หลวงอย่างใกล้ชิด แต่เจ้าเมืองก็มีสิทธิ์และเป็นอิสระในการจัดการปกครองบ้านเมือง
3เมืองประเทศราช เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกล เจ้าเมืองยอมรับความด้อยกว่า โดยส่งบรรณาการมาให้เมืองใหญ่ แสดงความผูกพันซึ่งกันและกัน

ที่มา: http://www.thaifolk.com/doc/northen.htm#History

สะกดใจ แกรนด์ The Star

| | 0 ความคิดเห็น

สะดวกคุยหรือเปล่า - เอิร์น

| | 0 ความคิดเห็น

Pescadores

| | 0 ความคิดเห็น

Surf Wave Pool Japan

| | 0 ความคิดเห็น

พิพิธภัณฑ์ภูกุ้มข้าว จ.กาฬสินธุ์

| | 0 ความคิดเห็น


ในยุคดึกดำบรรพ์ ภาคอีสานเคยเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ดึกดำบรรพ์ มีการค้นพบฟอสซิลของสัตว์โลกยุคโบราณ ซึ่งหลายชนิดเป็นพันธุ์ใหม่ที่เพิ่งพบเจอเป็นครั้งแรกของโลก โดยเฉพาะภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน (Phuwiangosaurus sirindhornae) ไดโนเสาร์กินพืชตระกูลซอโรพอดส์ ซึ่งพบหลายซากในเขตจังหวัดขอนแก่นและกาฬสินธุ์ โดยเฉพาะบริเวณ ภูกุ้มข้าว ในวัดสักกะวัน อำเภอสหัสขันธ์ ขุดพบฟอสซิลไดโนเสาร์ชนิดนี้ถึง 8 ซากภายในหลุมเดียวกันเมื่อปี พ.ศ. 2537 นับเป็นหลุมขุดค้นที่มีซากไดโนเสาร์รวมกันมากที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชีย ในเขตพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ มีการค้นพบซากรอยเท้าไดโนเสาร์เป็นจำนวนกว่า 20 แห่ง และที่พบซากไดโนเสาร์มี 3 คือ ภูกุ้มข้าว ภูปอ และภูผางัว การค้นพบซากไดโนเสาร์ที่ภูกุ้มข้าวเป็นการพบโดยบังเอิญ เจ้าอาวาสวัดสักกะวันพบชิ้นส่วนของไดโนเสาร์ แต่เข้าใจว่าเป็นแท่งไม้ที่กลายเป็นหิน จึงไม่ได้ใส่ใจอะไร จนกระทั่งเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรธรณีและนักวิชาการขอนำไปศึกษา ความจึงปรากฎว่าเป็นกระดูกสัตว์ดึกดำบรรพ์ และมีการขุดพบซากไดโนเสาร์ชนิดกินพืช จำนวนมากกว่า 600 ชิ้น ในปี พ.ศ. 2537 สันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ 130 ล้านปี
ภูกุ้มข้าว อยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองประมาณ 30 กิโลเมตร เนื่องจากเป็นภูเขาเดี่ยวในพื้นที่ ทำให้สามารถมองเห็นทิวทัศน์โดยรอบได้เป็นอย่างดี นับจากปี พ.ศ. 2537 ได้มีการพัฒนาพื้นที่ ภูกุ้มข้าว เรื่อยมา ได้แก่ การสร้างอาคารคลุมหลุมขุด อาคารปฏิบัติการ อุทยานสัตว์โลกล้านปี ภูกุ้มข้าว พิพิธภัณฑ์ การปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค ถนนและลานจอดรถ รวมถึงการปลูกป่าฟื้นฟูระบบนิเวศ ปัจจุบันยังคงมีการดำเนินการขุดค้นและการวิจัยอย่างต่อเนื่อง
สินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ (OTOP)
ผ้าไหมแพรวาผู้ไทย ทอจากไหมด้วยลายมัดหมี่ที่ละเอียดมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นงานฝีมือของชาวผู้ไทยบ้านโพน ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงสนับสนุนจนเป็นที่แพร่หลาย หาชมและเลือกซื้อได้ที่ศูนย์วิจิตรแพรวา บ้านโพน อำเภอคำม่วง โทรศัพท์ 0 4385 6101

การเดินทาง
ใช้เส้นทางสายกาฬสินธุ์-สหัสขันธ์ (ทางหลวง 227) ถึง กิโลเมตรที่ 28 แยกตรงโรงเรียนสหัสขันธ์ศึกษาไปอีก 2 กิโลเมตร มีทางแยกขวาไปวัดสักกะวัน อีก 1 กิโลเมตร รวมระยะทาง 30 กิโลเมตร
ข้อมูลการติดต่อ
สำนักงาน ททท. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 3 โทรศัพท์ 0 4324 4498-9 หรือ ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยว 0 4387 1074 ศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยว ( Call Center) 1147

ข้อแนะนำ
หลุมขุดค้นอยู่ห่างจากโบสถ์วัดสักกะวันเพียง 150 เมตร กรมทรัพยากรธรณีสร้างอาคารครอบหลุมไว้ ภายในแสดงข้อมูลชนิดและแหล่งที่พบไดโนเสาร์ในประเทศไทยอย่างละเอียด เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 นาฬิกา ใกล้กันมีอาคารพิพิธภัณฑ์โบราณชีววิทยา ซึ่งเป็นศูนย์ศึกษาเรื่องโบราณชีววิทยาที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

บริการจากอินเตอร์เน็ต

| | 0 ความคิดเห็น

สิ่งที่อินเตอร์เน็ตมีให้

1. Telnet หรือ SSH telnet.org wikipedia.org
2. อีเมล (e-mail หรือ Electronic Mail) hotmail.com, yahoo.com, thaimail.com, chaiyo.com, lampang.net, thaiall.com
3. USENET News หรือ News Group
4. FTP (File Transfer Protocal - บริการโอนย้ายข้อมูล) ipswitch.com (WS_FTP Client)
filezilla.sourceforge.net แนะนำโดย thaiopensource.org www.thaiall.com/learn/useftp.htm
5. WWW (World Wide Web) class.yonok.ac.th thaiall.com uploadtoday.com
6. Skype, Net2Phone, Cattelecom.com net2phone.com skype.com cattelecom.com
7. Netmeeting microsoft.com videofrog.com
8. ICQ (I Seek You) icq.com msn.com yahoo.com
9. IRC (Internet Relay Chat) mirc.com thaiirc.in.th
10. Game Online asiasoft.co.th siamcomic.com barbie.com erryhalim.com thaiall.com/games
11. Software Updating clamwin.com แนะนำโดย thaiopensource.org antivir.com bitdefender.com
12. Palm หรือ PocketPC (palm.com)
13. WAP (Wireless Application Protocal) wap.mweb.co.th

ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต

| | 0 ความคิดเห็น

Internet

อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET = Defense Advanced Research Projects Agency Network) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก
ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน
ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web)

แหล่งที่มา :http://thaiall.com/article/internet.htm#hist
| | 0 ความคิดเห็น


เป็นไงละ กิกิ

| | 0 ความคิดเห็น


นิยามความรัก

| | 0 ความคิดเห็น

รักคืออะไรกัน ?

การเรียนในเทอม2/2552

| | 0 ความคิดเห็น

การเรียนในเทอม2/2552 ต้องตั้งใจเรียนเป็นอย่างมาก ถึงจะได้เกรดเอ เพราะเป็นวิชาที่ยากมาก

ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้